Register for Free Trial ลงทะเบียนเพื่อทดลองฟรี
Register for Free Trial ลงทะเบียนเพื่อทดลองฟรี
March 15, 2021 2 min read
เรามักจะได้เห็นคำว่า SLS Free และ Paraben Free กันเป็นประจำเวลาที่กำลังหาซื้อแชมพูขวดใหม่ ไม่ว่าจะในรีวิวตามเว็บบอร์ด หรือที่เขียนกำกับไว้ข้างบนขวด แต่คุณเคยสงสัยไหมว่าเจ้าสารสองตัวนี้ที่พูดถึงมันคืออะไร และที่หลายคนบอกว่าอันตรายนั้นเป็นเรื่องจริงหรือไม่ วันนี้เราจึงขออาสาพาทุกคนไปทำความรู้จักกับสารสองตัวนี้ว่า มีหน้าที่อะไรบ้าง และอันตรายมากน้อยเพียงไหน ถ้าอยากรู้แล้วไปดูกันเลย
SLS (Sodium lauryl sulfate) คือสารเคมีที่ช่วยลดแรงตึงผิวของน้ำ ทำให้เกิดฟองเวลาใช้งาน ช่วยให้คราบสกปรกและความมันหลุดออกได้ดียิ่งขึ้น จึงนิยมใช้ในผลิตภัณฑ์ทำความสะอาด ไม่ว่าจะเป็นแชมพู โฟมล้างหน้า สบู่ หรือแม้กระทั่งน้ำยาล้างจาน
โดยแชมพูที่มี SLS อาจก่อให้เกิดอาการแพ้ระคายเคือง เป็นสิวและผื่นแดงบริเวณกรอบหน้าและหนังศีรษะ ซึ่งมีงานวิจัยเผยว่า จากกลุ่มทดลอง 1,600 คนพบว่า 42% เกิดอาการระคายเคืองจากการใช้ผลิตภัณฑ์ที่มี SLS และหากใช้น้ำอุ่นสระผมจะยิ่งทำให้เกิดอาการระคายเคืองมากขึ้น
Paraben เป็นสารกันเสียชนิดหนึ่ง มีหน้าที่ยืดอายุการใช้งานของผลิตภัณฑ์ และป้องกันการเจริญเติบโตของแบคทีเรีย จึงมักมีใช้กันโดยทั่วไป ไม่ว่าจะเป็นแชมพู สบู่และสกินแคร์ โดยมีงานวิจัยระบุว่า การใช้ผลิตภัณฑ์ที่มีส่วนประกอบของ Paraben เป็นระยะเวลาหลายวันติดต่อกัน อาจส่งผลให้ผิวมีริ้วรอย แก่ก่อนวัย นอกจากนี้ในบางรายอาจเกิดอาการแพ้ เช่น คัน เป็นแผล และผิวแห้ง ตาแดง อีกทั้งยังอาจทำให้ผมร่วงและหนังศีรษะแห้ง
สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา (อย.) ได้ออกมาชี้แจงว่า SLS ไม่ใช่สารที่ก่ออันตรายหากใช้ในปริมาณที่กำหนด แต่ถ้าใช้เป็นส่วนผสมมากเกินไปอาจก่อให้เกิดอันตรายได้ และผู้ที่มีอาการแพ้อย่างที่ได้กล่าวไปข้างต้น ควรหลีกเลี่ยงการใช้ผลิตภัณฑ์ที่มีสารเคมีชนิดนี้
ซึ่งนอกจาก SLS ยังมี SLES (Sodium laureth sulfate) ที่ทำหน้าที่คล้ายกัน แต่อ่อนโยนกว่า ช่วยลดโอกาสที่จะเกิดอาการแพ้แชมพูลงได้ ส่งผลให้ผู้ที่มีอาการแพ้แบบไม่รุนแรงสามารถเลือกใช้ผลิตภัณฑ์ที่มี SLES ทดแทนได้
ยังไม่มีรายงานใดที่ยืนยันได้ว่า Paraben เป็นอันตรายรุนแรงต่อมนุษย์ แต่ถ้าหากนำไปผสมในผลิตภัณฑ์ในปริมาณที่มากเกินไป อาจก่อให้เกิดอันตรายได้เช่นเดียวกัน ด้วยเหตุนี้จึงมีการกำหนดปริมาณการใช้ที่เหมาะสมในผลิตภัณฑ์แต่ละชนิดทั้งนี้ การใช้ผลิตภัณฑ์ที่ไม่มีส่วนผสมของ Paraben จะปลอดภัยมากที่สุด
นอกจากสารเคมีที่ได้กล่าวไปข้างต้น ยังมีสารเคมีอื่นในแชมพูทั่วไป ที่อาจเป็นอันตรายต่อเส้นผมและหนังศีรษะของคุณ อย่างเช่น Propylene glycolซึ่งเป็นสารเคมีที่ใช้รักษาความชุ่มชื้นในส่วนผสมของผลิตภัณฑ์และช่วยให้ผิวดูดซับน้ำได้ดียิ่งขึ้น ถึงแม้ว่าสารเคมีนี้จะไม่ได้มีคำสั่งห้ามใช้จาก อย. แต่อาจส่งผลเสียข้างเคียงได้ เช่น หนังศีรษะแห้ง มีผื่นแดงตามไรผม โดยอาการจะปรากฏภายใน 1-2 วันหลังใช้งาน
นอกจากนี้ยังมี Mineral oilที่เป็นสารสร้างความชุ่มชื่น ซึ่งสารเคมีนี้อาจทำให้ผู้ใช้บางรายรู้สึกคัน หรือมีผื่นแดงบริเวณหนังศีรษะ ส่งผลเสียต่อการเจริญเติบโตของเส้นผม ทำให้หลุดร่วงง่าย และงอกใหม่ช้า
อย่างไรก็ตามยังไม่มีมาตรการควบคุมปริมาณการใช้สารทั้งสองชนิดนี้ แต่เพื่อหลีกเลี่ยงผลเสียข้างเคียงที่อาจตามมา การใช้ผลิตภัณฑ์ที่ปราศจากสารเคมีเป็นตัวเลือกที่ดีกว่าอย่างแน่นอน
ขอขอบคุณข้อมูลจาก
Geier J, Uter W, Pirker C, Frosch P J. Patch testing with the irritant sodium lauryl sulfate (SLS) is useful in interpreting weak reactions to contact allergens as allergic or irritant [ออนไลน์]. 2003. แหล่งที่มา: https://onlinelibrary.wiley.com/doi/abs/10.1034/j.1600-0536.2003.480209.x [5 มกราคม 2021]
Berardesca E, Vignoli G P, Distante F, Brizzi P, Rabbiosi G. Effect of water temperature on surfactant-induced skin irritation [ออนไลน์]. มปป. แหล่งที่มา: https://pubmed.ncbi.nlm.nih.gov/7758326/ [5 มกราคม 2021]
สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา. อย. ยัน 4 สารในเครื่องสำอางมีความปลอดภัย สามารถใช้ได้ภายใต้เงื่อนไขที่กำหนด [ออนไลน์]. 2020. แหล่งที่มา: https://oryor.com/%E0%B8%AD%E0%B8%A2/detail/media_news/1903 [5 มกราคม 2021]
healthline. Should You Be Going Sulfate-Free? [ออนไลน์]. 2019. แหล่งที่มา: https://www.healthline.com/health/beauty-skin-care/sulfates [5 มกราคม 2021]
Mohammad Y. What is sodium lauryl sulfate and is it safe to use? [ออนไลน์]. 2019. แหล่งที่มา: https://theconversation.com/what-is-sodium-lauryl-sulfate-and-is-it-safe-to-use-125129 [5 มกราคม 2021]
Ishiwatari S, Suzuki T, Hitomi T, Yoshino T, Matsukuma S, Tsuji T. Effects on methyl paraben on skin keratinocytes [ออนไลน์]. 2007. แหล่งที่มา: https://pubmed.ncbi.nlm.nih.gov/17186576/ [5 มกราคม 2021]
กระทรวงสาธารณสุข. กำหนดวัตุกันเสียที่อาจใช้เป็นส่วนผสมในการผลิตเครื่องสำอาง (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2563 [ออนไลน์]. 2020. แหล่งที่มา: LINK [5 มกราคม 2021]
Voice of Hair. How bad are parabens for your hair? [ออนไลน์]. มปป. แหล่งที่มา: https://voiceofhair.com/how-bad-are-parabens-for-your-hair/#:~:text=Parabens%20can%20cause%20a%20number,ingredients%20you%20should%20avoid%20using. [5 มกราคม 2021]
healthline. Is Mineral Oil Good or Bad for Your Hair? [ออนไลน์]. 2020. แหล่งที่มา:
tinnakorn. การใช้ Propylene Glycol ในสูตรการผลิต [ออนไลน์]. มปป. แหล่งที่มา: LINK [5 มกราคม 2021]
March 01, 2021 2 min read
December 28, 2020 2 min read
December 21, 2020 1 min read
You can add a content block like this to your blog article sidebar, and use it for more details about blog authors, for example.
Sign up to get the latest on sales, new releases and more …
ลงทะเบียนเพื่อรับสินค้าตัวอย่าง ฟรี!